เมนู

อรรถกถาสักขิสูตรที่* 7


พึงทราบวินิจฉัยในสักขิสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ตตฺร ตตฺร เท่ากับ ตสฺมึ ตสฺมึ วิเสเส แปลว่า
ในคุณพิเศษนั้น ๆ. บทว่า สกฺขิภพฺพตํ ได้แก่ ความแจ้งประจักษ์.
บทว่า อายตเน ได้แก่ ในเมื่อเหตุ. ธรรมทั้งหมดมีหานภาคิยธรรม
เป็นต้น ข้าพเจ้าได้พรรณนาไว้แล้ว ในคัมภีร์ ชื่อว่า วิสุทธิมรรค.
บทว่า อสกฺกจฺจการี ได้แก่ ทำไม่ให้ดี คือ ไม่ทำโดยเอื้อเฟื้อ. บทว่า
อสปฺปายการี ได้แก่ ไม่กระทำให้เป็นที่สบาย คือ ไม่ทำให้เป็นธรรมมี
อุปการะ.
จบอรรถกถาสักขิสูตรที่ 7

8. พลสูตร


ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุพลภาพในสมาธิ


[343] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ
ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุพลภาพในสมาธิ ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ?
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ 1 เป็นผู้ไม่ฉลาด
ในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ 1 เป็นผู้ไม่ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ 1 เป็นผู้ไม่
กระทำความเอื้อเฟื้อ 1 ไม่กระทำติดต่อ 1 ไม่กระทำความสบาย 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควร
เพื่อบรรลุพลภาพในสมาธิ.
* พม่า เป็น สักขิภัพพสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ย่อมเป็น
ผู้ควรเพื่อบรรลุพลภาพในสมาธิ ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ 1 เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่
แห่งสมาธิ 1 เป็นผู้ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ 1 เป็นผู้กระทำความเอื้อ
เฟื้อ 1 เป็นผู้กระทำติดต่อ 1 เป็นผู้กระทำความสบาย 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุ
พลภาพในสมาธิ.
จบพลสูตรที่ 8

อรรถกถาพลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในพลสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า พลตํ ได้แก่ ความเป็นผู้มีกำลัง คือ ความเป็นผู้มีเรี่ยวแรง
(ในสมาธิ). บทว่า อสาตจฺจการี ความว่า ไม่กระทำให้ติดต่อกัน. คำที่
เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้ว ในหนหลัง.
จบอรรถกถาพลสูตรที่ 8